วิเคราะห์เป็นก็นำไปใช้ประโยชน์

เมื่อทำความรู้จักงบการเงิน ทำความรู้จักกับเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน รวมถึงได้ลองทำการวิเคราะห์งบการเงินจริงและทำการเขียนผลการวิเคราะห์แล้วนั้น ในบทนี้ จะนำผลการวิเคราะห์ในแต่ละเครื่องมือไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้ใช้งบการเงิน ประเภทของผู้ใช้งบการเงิน รวมถึงสิ่งเล็กน้อยที่อาจจะถูกหลงลืมไปจนก่อให้เกิดผลเกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยกล่าวถึงหัวข้อใหญ่ตามหมวดบัญชี 5 หมวด ดังนี้ 1. สินทรัพย์ 2. หนี้สิน 3. ทุน 4. รายได้ 5. ค่าใช้จ่าย ตลอดจนสิ่งที่สำคัญที่สุดของการทำธุรกิจคือ การสร้างกำไรหรือผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นให้ได้มากที่สุดอย่างยั่งยืน กิจกรรมต่างๆในงบการเงิน และสุดท้าย คือ หมายเหตุประกอบงบการเงิน ที่บอกรายละเอียดทั้งหมดของกิจการ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ …

วิเคราะห์งบการเงิน

บท “วิเคราะห์งบการเงิน” เป็นบทที่ต่อจากการทำความรู้จักเครื่องมือต่างๆเป็นที่เรียบร้อย ในบทนี้ จึงเป็นบทที่พาผู้เรียนทำการวิเคราะห์งบการเงินตัวอย่างไปพร้อมกัน เพื่อสร้างความเข้าใจในแต่ละเครื่องมือและผลลัพธ์ที่ได้ของแต่ละเครื่องมือที่แตกต่างกัน รวมถึงการเขียนผลการวิเคราะห์งบการเงินเบื้องต้น เพื่อที่จะสามารถนำไปเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้นและนำผลไปใช้ประโยชน์ต่อไป คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้จัดทำวีดีโอสื่อการสอน “วิเคราะห์งบการเงิน” ให้สำหรับครู อาจารย์และผู้สนใจทั่วไป สามารถทำการวิเคราะห์งบการเงินในแต่ละเครื่องมือหรือวิธีต่างๆได้อย่างถูกต้อง และนำเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อไป

เครื่องมือสำคัญ ช่วยให้วิเคราะห์งบการเงินได้ง่ายขึ้น

ในบทนี้จะมองถึงความแตกต่างและจุดประสงค์ของแต่ละเครื่องมือที่จะถูกนำมาช่วยในการวิเคราะห์งบการเงิน รวมถึงความเหมาะสมของแต่ละเครื่องมือกับข้อมูลที่ผู้ใช้งบการเงินต้องการที่จะได้จากงบการเงิน โดยประกอบด้วยกันทั้งหมด 3 วิธี ดังนี้ 1. การวิเคราะห์โดยวิธีย่อส่วนตามแนวดิ่ง (Vertical Analysis) 2. การวิเคราะห์โดยวิธีอัตราร้อยละของแนวโน้ม (Trend Percentage Analysis) 3. การวิเคราะห์โดยวิธีอัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio Analysis) คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้จัดทำวีดีโอสื่อการสอน “เครื่องมือสำคัญ ช่วยให้วิเคราะห์งบการเงินได้ง่ายขึ้น” ให้สำหรับครู อาจารย์และผู้สนใจทั่วไป รู้จักและสามารถใช้เครื่องมือแต่ละอันในการวิเคราะห์งบการเงินได้

อ่านงบการเงินทำได้ไม่ยาก เพราะอะไรถึงจำเป็น

งบการเงิน เปรียบเสมือนเครื่องมือหรืออาวุธสำหรับผู้บริหาร นักลงทุน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับกิจการ เนื่องจากสามารถบอกถึงเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และยังสามารถนำข้อมูลจากงบการเงินไปประเมินหรือคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อที่จะเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ของกิจการที่เปลี่ยนแปลงไปหรืออาจจะเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป ความต้องการของผู้บริโภค สถานการณ์ทางการเงินของกิจการ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าข้อมูลของกิจการจะถูกนำเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านงบการเงิน หากเราเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจึงมีความสำคัญมากที่จะต้องอ่านงบการเงินให้เป็นและถูกต้อง คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้จัดทำวีดีโอสื่อการสอน “อ่านงบการเงินทำได้ไม่ยาก เพราะอะไรถึงจำเป็น” ให้สำหรับครู อาจารย์และผู้สนใจทั่วไป สามารถฝึกอ่านงบการเงินและทำการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในงบการเงินได้

Data Analysis With Pandas EP.3

กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Pandas จะเริ่มต้นด้วยการทำความรู้จักเกี่ยวกับ Module Pandas ซึ่งเป็นโมดูลที่นำมาใช้เกี่ยวกับกระบวนการ Data Science โดยจะนำข้อมูลมาไว้ที่ Data Frame ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการ Cleasing Data และ การ​​ Exploring Data รวมถึงการ Manipulating Data ต่อไป

Data Analysis With Pandas EP.2

กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Pandas จะเริ่มต้นด้วยการทำความรู้จักเกี่ยวกับ Module Pandas ซึ่งเป็นโมดูลที่นำมาใช้เกี่ยวกับกระบวนการ Data Science โดยจะนำข้อมูลมาไว้ที่ Data Frame ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการ Cleasing Data และ การ​​ Exploring Data รวมถึงการ Manipulating Data ต่อไป

Data Analysis With Pandas EP.1

กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Pandas จะเริ่มต้นด้วยการทำความรู้จักเกี่ยวกับ Module Pandas ซึ่งเป็นโมดูลที่นำมาใช้เกี่ยวกับกระบวนการ Data Science โดยจะนำข้อมูลมาไว้ที่ Data Frame ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการ Cleasing Data และ การ​​ Exploring Data รวมถึงการ Manipulating Data ต่อไป

กิจกรรมให้ความรู้เรื่อง “บทบาทของการบัญชีต่อการดำเนินธุรกิจ”

กิจกรรมให้ความรู้แก่นักศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในด้านบัญชีให้แข็งแกร่งและสามารถนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในอนาคต โดยคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ และสำนักหอสมุดและพื้นที่การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมกับมุมความรู้ตลาดทุน SET Corner ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย